Application
ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย
วัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile), ตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geogrid), แผ่นตาข่ายระบายน้ำ (Geonet), แผ่นวัสดุสังเคราะห์ผสม (Geocomposite), แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (Geosynthetics clay liners), ถุงทรายชนิดพิเศษ (Geobag)
บริการออกแบบและให้คำปรึกษาทางด้านงานวิศวกรรมโยธา
ทางด้านงานวิศวกรรมเทคนิคธรณี ในการเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพดิน
วัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile), ตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geogrid), แผ่นตาข่ายระบายน้ำ (Geonet), แผ่นวัสดุสังเคราะห์ผสม (Geocomposite), แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (Geosynthetics clay liners), ถุงทรายชนิดพิเศษ (Geobag)
บริการออกแบบและให้คำปรึกษาทางด้านงานวิศวกรรมโยธา
ทางด้านงานวิศวกรรมเทคนิคธรณี ในการเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพดิน
แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ
Non woven geotextile
แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดิน
Geogrid
แผ่นตาข่ายรังผึ้ง
Geocell
เสริมความมั่นคงของถนนบนดินอ่อน ให้ใช้งานได้ยาวนาน ด้วย Woven geotextile ปัญหาในการก่อสร้างผิวทางใหม่บนพื้นดินที่อ่อนมาก คือการทรุดตัวของวัสดุดินเดิม ที่รองผิวทางที่ยากจะควบคุม การออกแบบเสริมชั้นโครงสร้างทาง ด้วยการใช้แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดถักทอ มาปูรองบน ตะแกรงไม้ไผ่ จะช่วยเพิ่มความมั่นคงของชั้นโครงสร้างทางได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยยืดอายุของผิวทางตามไปด้วยเช่นเดียวกัน |
คันดินแข็งแรง ปลูกหญ้าได้สวยงามและมีความมั่นคง (Geocell for slope erosion control)
|
เสริมความมั่งคง แข็งแรง ของถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วย Non woven geotextile
|
การก่อสร้างบ่อทรายให้สวยและสะอาด
|
Woven geotextile
เพิ่มประสิทธิภาพในงานวางท่อระบายน้ำ ติดตั้งง่าย ทำงานเสร็จได้เร็ว ด้วย Woven geotextile แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดถักทอ (Woven geotextile) สามารถนำมาประยุกต์ใช้พันบริเวณรอยต่อของท่อคอนกรีตระบายน้ำขนาดใหญ่ที่วางอยู่ใต้ดินแทนการทดด้วยซีเมนต์แบบเดิม โดยเน้นคุณสมบัติในการเป็นวัสดุกรองเพื่อไม่ให้ดินไหลเข้าไปอุดตันภายในท่อระบายน้ำ แต่ยังมีจุดเด่นในการยืดหยุ่นตัวได้ รับแรงดึงได้สูงและระบายน้ำได้ดี |
Geocell for slope reinforcement and erosion control
|
สร้างถนนเลียบคลอง ติดน้ำ ให้ใช้ได้กันแบบยาวๆ
|
Non woven geotextile สำหรับแยกชั้นวัสดุ
|
กำแพงกล่องลวดตาข่าย สำหรับกันการกัดเซาะผิวหน้าดิน
|
Geogrid for slope reinforcement สำหรับโครงสร้างที่มีความลาดชันสูง
|
Paving fabric for Road construction
|
ข้อดีของ Non woven geotextile สำหรับงานจัดสวน
|
Non woven geotextile for separation สำหรับงานจัดสวน
|
Geocell for erosion control
|
Non woven geotextile for separation
|
Non woven geotextile for separation
|
Non woven geotextile for separation
|
Non woven geotextile for Filtration
|
Non woven geotextile for Separation การออกแบบระบบระบายน้ำใต้ดิน สามารถทำได้โดยการใช้ท่อน้ำแบบเจาะรู เพื่อเป็นแนวรับน้ำแล้วพันด้วย แผ่นใยสังเคราะห์ แบบ Non woven geotextile เพื่อเป็นวัสดุกรองไม่ให้อนุภาคของดินเข้าไปอุดตัน แต่มีความสามารถในการระบายน้ำได้สูงเพื่อให้น้ำซึมผ่านได้ดี แล้วจัดระดับกำหนดให้น้ำระบายออกไปรวมยังทิศทางที่ต้องการ #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #KMUTT |
Geogrid for base reinforcement
ปัจจุบันมีการออกแบบเทคนิคในการผลิต ตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geogrid) สำหรับนำไปใช้เสริมความมั่นในการก่อสร้างในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งชนิดเส้นใยที่มีความเหนียวสูง ค่ายืดตัวต่ำ เคลือบด้วยวัสดุโพลีเมอร์เพื่อเพิ่มความคงทน และขนาดช่องตาข่ายที่แตกต่าง เพื่อเพิ่มทางเลือกในการใช้คุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสม การก่อสร้างถนนในปัจจุบัน หากมีการเสริมความมั่นคงที่ชั้นโครงสร้างทางดีๆ โดยใช้ วัสดุเสริมกำลังแบบนี้เข้าไป จะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานได้อีกยาวนานเลย #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #Geogrid |
Non Woven Geotextile for Separator
แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ มีความสามารถเด่นในเรื่องการระบายน้ำ และการยืดหยุ่นตัวที่ดี เหมาะในการนำไปใช้แยกชั้นวัสดุมวลรวมออกจากกัน ตัวอย่าง เช่น โครงการสร้างสนามม้า ที่ใช้พื้นล่างสุดเป็นแอสฟัลท์ และโรยชั้นหินเพื่อสร้างเป็นชั้นระบายน้ำที่แยกชั้นวัสดุด้วย Non woven geotextile แล้วด้านบนสุดเป็นทรายคัดกรองที่เหมาะสำหรับการเดินของม้า เครดิต : ขอบคุณภาพสวยๆ และการเลือกใช้วัสดุคุณภาพ จาก มูลนิธิ ฮอสแอนด์เอิ๊บ เซนซอรี่ อีไควน์เธอราปี้ อาร์ดีเอ ประเทศไทย #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Non woven geotextile for Separation งานระบบระบายน้ำใต้ดิน จำเป็นจะต้องจำกัดการเคลื่อนตัวของอนุภาคมวลรวมต่างๆ เมื่อมีการไหลของน้ำ แผ่นใยสังเคราะหชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) ซึ่งมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นตัวที่ดี ฉีกขาดยาก และยอมให้น้ำไหลผ่านได้ดี จึงเป็นทางเลือกในการนำมาออกแบบใช้งานได้ดี ตัวอย่างเช่น การก่อสร้างสนามกอล์ฟ ทั้งในแฟเวย์ หลุมทราย และบนกรีน เพื่อไม่ให้เกิดน้ำขัง อีกทั้งเป็นการรักษาความสมดุลของหญ้าเพื่อไม่ให้ชุ่มน้ำมากจนเกินไป #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Non Woven Geotextile for Filter
การออกแบบโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำ จะต้องคำนึงถึงการยอมให้น้ำไหลผ่านตัวโครงสร้าง เพื่อลดแรงดันของนำ้ที่อาจสะสมอยู่หลังโครงซึ่งจะทำให้โครงการสร้างเกิดการเคลื่อนตัวได้ แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven) เหมาะที่จะถูกเลือกนำมาใช้ ด้วยคุณสมบัติที่มีความสามารถในการระบายน้ำได้สูง และยืดหยุ่นตัวไปตามโครงสร้างได้เป็นอย่างดี การเลือกใช้ควรคำนึงถึงความหนาที่เพียงพอ เพื่อไม่ให้เกิดการฉีกขาดขณะก่อสร้าง และถูกเจาะทะลุจากวัสดุมวลรวมที่อาจเกิดขึ้นจากการกดทับได้ #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
|
Installation Geocomposite for base reinforcement สิ่งสำคัญในการติดตั้งวัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ สำหรับเป็นวัสดุเสริมกำลังชั้นดิน คือ การปูแผ่นที่ต้องตึง เรียบ และในระหว่างถมวัสดุมวลรวมและบดอัด ไม่ควรให้เครื่องจักรเดินลงบนแผ่นใยสังเคราะห์โดยตรง #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Geosynthetics for Erosion control ปัจจุบันสามารถเลือกใช้วัสดุสังเคราะห์ในการปูบริเวณคันดินที่มีความชัน เพื่อป้องกันการถูกกัดเซาะผิวหน้าดิน เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น ซึ่ง Erosion mat จะมีเป็นอีก 1 ทางเลือก โดยมีความหนาของแผ่นประมาณ 1-2.5 cm. เหมาะกับคันดินที่มีความลาดชันไม่มาก โดยสามารถเติมดินผิวหน้าให้ลงไปเกาะกับ Erosion mat ได้เล็กน้อย #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Geogrid for Base Reinforcement การก่อสร้างถนนที่มีความกว้างมากๆ บนพื้นที่ดินอ่อน อาจเกิดระนาบในการพังทลายเฉือนบริเวณกลางคันทางได้ การเลือกใช้ Geogrid ที่มีความสามารถในการรับแรงดึงสูง นำไปปูลึกลงไปในชั้นโครงสร้างทาง เพื่อช่วยรับแรงเฉือนที่เกิดขึ้น จะช่วยเพิ่มความมั่นคงของคันทางได้มากขึ้น #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #Geogrid |
Non woven geotextile for Separation การควบคุมการทรุดตัวของชั้นคันทางใหม่บนพื้นที่ดินอ่อน โดยใช้แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอปูก่อนเพื่อแยกชั้นวัสดุถม ซึ่งจะทำให้การบดอัดง่ายขึ้น โดยเน้นคุณสมบัติของแผ่นใยสังเคราะห์ในการแยกชั้นวัสดุ ที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย ยืดหยุ่นตัวได้ดีและมีความสามารถในการระบายน้ำสูง #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Geogrid with Modular block การก่อสร้างกำแพงบล๊อคสำเร็จรูปโดยการนำ Geogrid เป็นวัสดุเสริมกำลัง สามารถทำให้โครงสร้างสามารถตั้งชันได้มาก ออกแบบความสวยงามได้หลากหลาย ได้พื้นที่ในการใช้งานเต็มที่ และมีมั่นคงตามหลักวิศวกรรมโดยวิธีการออกแบบ ต้องคำนึงทั้งเสถียรภาพภายนอกและเสถียรภาพภายใน ซึ่งปัจจุบันมีโปรแกรมในการช่วยคำนวณให้ค่าความปลอดภัยที่มั่นใจได้ #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #Geogrid |
แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์
Geosynthetics Clay Liner (GCL) การออกแบบนำผงเบนโทไนต์ ที่มีคุณสมบัติในการบวมตัวสูงเมื่อทำปฎิกิริยากับน้ำ มาจำกัดการขยายตัวด้วยการเย็บติดกับ Geotextile ทั้งสองด้าน ทำให้เกิดคุณสมบัติการทึบน้ำ ไม่ให้น้ำสามารถเดินทางผ่านได้ ด้วยคุณสมบัตินี้เองจึงมีการนำไปใช้เป็นชั้นต้านทานการซึมน้ำแทนการใช้ดินเหนียวบดอัด ซึ่งจุดเด่นคือ - สามารถควบคุมความสม่ำเสมอได้ดีกว่าชั้นดินหนียวบดอัด - ทำงานง่ายในพื้นที่หาดินเหนียวได้ยาก - มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองหากมีการรั่วซึม - สามารถทำงานร่วมกับแผ่นพลาสติกกันซึมได้ #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Geotextile for Separation การก่อสร้างงานทางบนพื้นที่ดินอ่อน การควบคุมการทรุดตัวของดินสามารถทำได้โดยใช้แผ่นใยสังเคราะห์เข้าไปแยกชั้นวัสดุ เพื่อให้เกิดการบดอัดได้ง่าย และสร้างชั้นโครงสร้างพื้นทางที่รองรับผิวทางได้ดี คุณสมบัติหลักของวัสดุแผ่นใยสังเคราะห์ที่ต้องการคือ - ความสามารถในการระบายน้ำ - ความสามารถในการป้องกันการฉีกขาด - การยืดตัวของแผ่นใย #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
การเย็บ Geotextile การเชื่อมต่อ Geotextile สามารถทำได้หลายวิธี การเย็บเป็นอีกทางเลือกที่อาจต้องใช้หากจำเป็น โดยสามารถใช้จักรมือสนามมาเย็บที่หน้างานได้เลย #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Modular Block ปัจจุบันมีการออกแบบก้อนคอนกรีต (Modular block) เพื่อนำมาใช้เป็น Facing กับวัสดุสังเคราะห์เสริมกำลัง (Geosynthetics reinforcement) ซึ่งมีจุดเด่นในการยึดติดหรือล๊อควัสดุเสริมกำลังกับตัวก้อนคอนกรีตได้ดี ทำให้การก่อสร้างสามารถออกแบบโครงสร้างที่ตั้งชันได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเลือกแบบก้อนคอนกรีตให้มีความสวยงามได้อีกหลากหลายอีกด้วย #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #Geogrid |
Base Reinforcement (Subgrade stabilisation)
แผ่นตาข่ายเสริมกำลังดิน (Geogrid) สามารถนำไปใช้เพิ่มความมั่นคงของคันทาง เพื่อเพิ่มเสถียรภาพ ยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างให้มั่นคงแข็งขึ้นได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งปัจจุบัน มีรูปแบบของวัสดุที่สามารถเลือกใช้ได้เฉพาะในแต่ละจุดที่ต้องการเสริม การเสริมความมั่นคงชั้นวัสดุรองทาง (Subgrade stabilisation) จะเพิ่มอายุของผิวทางได้โดยไม่ต้องวางวัสดุลงไปในชั้นลึก เหมาะสำหรับงานซ่อมทาง หรือ เสริมความมั่นคงที่ไม่ต้องการขุดดินชั้นโครงสร้างทางมาก #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #Geogrid |
Paving Fabric การใช้แผ่นใยสังเคราะห์สำหรับเป็นวัสดุเสริมผิวทาง ปัจจุบันมีการออกแบบนำแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) มาเสริมในชั้นผิวทาง โดยมีการเพิ่มปริมาณน้ำยาง (Track coat) ให้เพียงพอต่อการดูดซับไว้ในแผ่นใยสังเคราะห์ เพื่อนำคุณสมบัติในการเป็นชั้นกันน้ำ (Waterproof) ที่อาจจะซึมจากผิวทางลงสู่ชั้นโครงสร้างทาง เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของการก่อสร้างทางให้มั่นคงยาวนานขึ้น #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
การก่อสร้างคันทางที่มีความลาดชัน สามารถนำ Geogrid ไปเป็นวัสดุเสริมกำลังเพื่อเพิ่มความมั่นคงของคันดินไม่ให้เคลื่อนตัวได้
จุดเด่นของ Geogrid - มีค่าการยืดตัวที่ต่ำ ซึ่งทำให้สามารถรับแรงได้เร็ว - มีการเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อน ทำให้อายุการใช้งานยาวนาน - มีรุ่นให้เลือกหลากหลายสำหรับการรับแรงที่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญในการออกแบบอีกประการคือการเลือก Facing เพื่อปิดผิวหน้าโครงสร้าง ซึ่งจะทำให้วัสดุอยู่คงทนได้นาน ควรเลือกวัสดุที่เหมาะกับโครงสร้างงานนั้นๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความชัน ความสวยงาม หรือมีระดับน้ำข้างเคียงหรือไม่ เป็นต้น #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #Geogrid |
ระบายน้ำจากโครงสร้างได้ดี มั่นคง ปลอดภัย ใช้งานได้ยาว สำหรับการออกแบบโครงสร้างถนน การจัดการเรื่องการระบายน้ำเป็นเรื่องหลักที่ต้องคำนึงถึง ทั้งน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน เพราะหากในโครงสร้างชั้นทางมีน้ำในปริมาณที่ไม่เหมาะสม และควบคุมได้ยากจะทำให้โครงสร้างชั้นทางเกิดการเคลื่อนตัวได้ง่าย นั่นเป็นสาเหตุหลักของการทรุดตัวและการเคลื่อนตัวที่ตามมา #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Rockfall protection by Rock catch fences การป้องกันหินร่วง โดย การใช้ตาข่ายสลายพลังงานดักหิน สำหรับพื้นที่ที่จำเป็นต้องออกแบบสิ่งปลูกสร้าง หรือทางจราจรใกล้กับภูเขาหิน อาจมีความเสี่ยงที่จะมีหินตกหล่นลงมาในอนาคตได้ เราสามารถออกแบบด้วยการใช้ตาข่ายชนิดพิเศษที่สามารถดักหินที่จะร่วงลงมาไม่ให้เคลื่อนตัวต่อ โดยเทคนิคการสลายพลังงาน นำหินที่ร่วงมาออกแล้วทำการซ่อมแซมรั้วได้ #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #RockFall |
ควบคุมการทรุดตัวของถนนด้วย Geogrid และ Geotextile เป็นที่ถูกใจของลูกค้าอย่างมากสำหรับการออกแบบที่ช่วยลดการเสียหายของถนนที่มีการใช้งานหนักจากรถบรรทุกขนาดใหญ่ ด้วยการใช้ Geogrid และ Non Woven geotextile ในการเสริมความมั่นคงในชั้นโครงสร้างทาง เลยทำ phase 2 ต่อหลังจากทดลองใช้ครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #Geogrid |
การใช้แผ่นใยสังเคราะห์เป็นวัสดุกรอง (Filtration)
เขื่อนป้องกันตลิ่ง โดยใช้กล่องลวดตาข่ายบรรจุหิน (Mattress) ป้องกันการกัดเซาะเชิงลาดริมแม่น้ำ เป็นแนวปะทะน้ำ และควบคุมการเคลื่อนตัวของวัสดุมวลรวมด้านหลังเขื่อน การก่อสร้างโครงสร้างลักษณะนี้ควรใช้แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) ปูรองก่อนเรียงกล่องลวดตาข่าย เพื่อป้องกันวัสดุมวลรวมไหลออกตามช่องว่างของหิน แต่ยังคงคุณสมบัติให้น้ำสามารถไหลผ่านเข้าออกได้เป็นอย่างดี #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Break water การออกแบบเขื่อนป้องกันคลื่นที่ราคาไม่แพง และก่อสร้างง่ายอีกทางเลือกนึงคือการใช้หินเรียง ซึ่งหากดินพื้นฐานมีกำลังแบกทานดีด้วยแล้วจะทำให้การก่อสร้างไม่ยาก โดยอาจใช้แผ่นใยสังเคราะห์ปูรองเพื่อเป็นการแยกชั้นวัสดุควบคุมการทรุดตัวได้อีกด้วย #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
Geosynthetics for Coastal protection
ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ทำให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งเสียหายเป็นจำนวนมากในทุกๆปี การป้องกันการกัดเซาะด้วยการประยุกต์นำวัสดุสังเคราะห์ไปใช้ร่วมกับหินเรียง เป็นอีกทางเลือกที่ต้นทุนไม่แพง เมื่อเทียบกับโครงสร้างที่ต้องใช้คอนกรีต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของดินเดิมในบริเวณนั้นว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
จุดเด่นของ Non woven geotextile
การแยกชั้นวัสดุ - แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ สามารถนำไปปูระหว่างชั้นวัสดุถม เพื่อแยกชั้นวัสดุออกจากกัน โดยยังคงคุณสมบัติให้น้ำสามารถไหลผ่านได้สะดวก ทำให้การบดอัดดินทำได้ง่าย และแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอยังมีความสามารถในการยืดตัวสูง ทำให้ไม่ขาดง่าย และปรับสภาพตามหน้างานได้ง่าย สามารถนำไปใช้ได้ทั้งการก่อสร้างถนนบนดินอ่อน หรือลานจอดรถ #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
ถุงทราย (Geobag) แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นถุงเพื่อใส่ทรายได้ตามขนาดที่ต้องการตามการออกแบบ เพื่อนำไปวางในโครงสร้างที่กำหนดไว้ โดยจุดเด่นคือมีความสามารถในการระบายน้ำได้ดี เมื่อบรรจุทรายลงในถุงทรายที่หน้างานน้ำจะระบายออกได้ทันที่ ทำให้การจัดเรียงและจัดรูปแบบเป็นไปได้ง่าย #Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ #Geobag |
5. ใช้ทำหน้าเป็นวัสดุป้องกัน (Protection)
วัตถุประสงค์หลัก : เพื่อเป็นวัสดุที่ป้องกันวัสดุอื่นเสียหายจากแรงกระทำต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับโครงสร้าง เช่น การเจาะทะลุ การขูดขีด โดยลักษณะงานที่เหมาะจะนำไปใช้ เช่น การปูรองแผ่น Geomembrane กับชั้นดิน หรือหลังกำแพงกันดินเพื่อป้องกันการเจาะทะลุ คุณสมบัติหลักในการเลือกใช้งาน
#Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
4. ใช้ทำหน้าเป็นวัสดุระบายน้ำ (Drainage)
วัตถุประสงค์หลัก : จะใช้ตัวแผ่นใยสังเคราะห์เป็นแนวระบายน้ำในแนวแกนของแผ่นเลย เพื่อช่วยลดแรงดันจากน้ำที่จะเกิดขึ้นในโครงสร้าง ซึ่งสามารถออกแบบได้ทั้งในแนวระนาบ และในแนวดิ่ง โดยลักษณะงานที่เหมาะจะนำไปใช้ เช่น การระบายน้ำหลังกำแพงกันดิน การระบายน้ำในสวนบนหลังคา การระบายน้ำใต้สนามกีฬา คุณสมบัติหลักในการเลือกใช้งาน
#Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
3. ใช้ทำหน้าเป็นวัสดุเสริมกำลัง (Reinforcement)
วัตถุประสงค์หลัก : จะเน้นเพิ่มเสถียรภาพของโครงสร้างคันดิน ซึ่งสามารถคำนวณออกแบบได้หลายมิติ เช่น เสถียรภาพเชิงลาด เสถียรภาพพื้นฐานโครงสร้าง โดยลักษณะงานที่เหมาะจะนำไปใช้ เช่น การก่อสร้างถนนที่มีความลาดชันสูง การก่อสร้างถนนที่มีขนาดกว้างมากๆ คุณสมบัติหลักในการเลือกใช้งาน
#Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
2. ใช้ทำหน้าเป็นวัสดุกรอง (Filter)
วัตถุประสงค์หลัก : จะเน้นเป็นการปูเพื่อป้องกันวัสดุมวลรวมที่เราต้องการจำกัดการเคลื่อนตัว เคลื่อนที่ไปเมื่อมีน้ำเข้ามาสู่โครงสร้าง แต่ยอมให้มีการไหลผ่านของน้ำได้เป็นอย่างดี โดยลักษณะงานที่เหมาะจะนำไปใช้ เช่น งานริมตลิ่งน้ำ โดยการปูบนพื้นดินที่บดอัดแล้ว ด้านหลังกล่องลวดตาข่าย (Gabion & Mattress) หรือการเรียงหิน เพื่อไม่ให้มวลดินเคลื่อนตัวออกจากโครงสร้าง หรือ การห่อหุ้มท่อระบายน้ำที่มีการเจาะรูเพื่อควบคุมการไหลของน้ำ โดยป้องกันไม่ให้อนุภาคของดินเข้าไปอุดตันท่อ คุณสมบัติหลักในการเลือกใช้งาน
#Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |
1. ใช้ทำหน้าเป็นการแยกชั้นวัสดุ (Separator)
วัตถุประสงค์หลัก : จะเป็นการปูเพื่อแยกวัสดุมวลรวม 2 ชนิดที่ต่างกันออกจากกัน เพื่อเป็นการควบคุมการทรุดตัวของวัสดุที่ไม่เท่ากัน ไม่ผสมรวมตัวกันแต่ยอมให้มีการซึมผ่านของน้ำได้ โดยลักษณะงานที่เหมาะจะนำไปใช้ เช่น การก่อสร้างถนนบนพื้นที่ดินอ่อน โดยปูรองที่ชั้นดินอ่อน ก่อนถมวัสดุมวลรวมใหม่เพื่อทำเป็นวัสดุรองพื้น ก่อนทำผิวหน้าเป็นคอนกรีตหรือแอสฟัลท์ หรือ การปูรองบนดินที่บดอัดแล้วก่อนลงทราย เพื่อปูบล๊อคคอนกรีตเพื่อเป็นผิวทาง คุณสมบัติหลักในการเลือกใช้งาน
#Geotextile #แผ่นใยสังเคราะห์ |